ความแตกต่างของกองทุนอสังหาริมทรัพย์กับ REIT ของ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

REIT เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการลงทุนโดยตรงและมีข้อจำกัดน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากโครงสร้าง REIT มีความเป็นสากลและมีความยืดหยุ่นในการลงทุนและบริหารจัดการมากกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์[5]

ตารางเปรียบเทียบ REIT กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์[6]

ความแตกต่างของกองทุนอสังหาริมทรัพย์REIT
ภาษี-ในส่วนของกองทุนอสังหาฯเองจะไม่เสียภาษี
-ผู้ที่ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาไม่ต้องนำเงินปันผลมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
-REIT ไม่เสียภาษี
-ผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ลักษณะของการกำกับดูแลกำกับดูแลแบบกองทุนรวมกำกับดูแลคล้ายบริษัทจดทะเบียน
ผู้จัดการกองทุนต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุนรวมเท่านั้นREIT manager จะเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถทำได้ทำได้ไม่เกิน 10% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดหลังการขายหน่วยทรัสต์
การขอกู้ยืมเงินไม่เกิน 10% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิไม่เกิน 35% ของสินทรัพย์ทั้งหมด หรือกรณีที่มี Investment Grade Rating จะต้องไม่เกิน 60% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสามารถนำเงินไปลงทุนได้
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศไม่สามารถทำได้สามารถนำเงินไปลงทุนได้
จำนวนผู้ถือหน่วน/ในทรัสต์-ในช่วงจัดตั้งจะต้องมีไม่น้อยกว่า 250 ราย
-ภายหลังการจัดตั้งต้องมีไม่น้อยกว่า 35 ราย
เกณฑ์การเสนอขายและข้อจำกัดในการถือครองจะต้องเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปมากว่า 25% และใช้หลัก Small Lot Fist โดยมีข้อจำกัดให้ผู้ลงทุนแต่ละรายหรือกลุ่มลงทุนได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่อยทั้งหมดการกระจายให้แก่ผู้ลงทุนเป็นไปตามกฎของตลาดหลักทรัพย์โดยแบ่งให้ผู้ลงทุนทั่วไปไม่น้อยกว่า 20% และผู้ลงทุนแต่ละรายจะลงทุนได้ไม่เกิน 1 ใน 2 ของจำนวนทั้งหมด
การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งอสังหาฯไม่กำหนดให้ต้องขอมติในการซื้อขาย-รายการขนาดเล็กน้อยกว่า 10% ของมูลค่าทรัพย์สินรวม REIT manager สามารถทำได้เอง
-รายการขนาดกลางตั้งแต่ 10% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 30% ต้องได้รับความเห็นชอบจาก Board REIT Manager
-รายการขนาดใหญ่ตั้งแต่ 30% ขึ้นไปต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยทรัสต์
ประเภททรัพย์สินที่ลงทุนได้-อาคารสำนักงาน
-อาคารศูนย์การค้า
-อาคารโรงงานให้เช่าในนิคม/เขต/สวนอุตสหกรรม
-อาคารโกดังสินค้า
-อาคารที่พักอาศัย
-อาคารโรงแรม
-ศูนย์ประชุม/นิทรรศการ
-ศูนย์จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่
-อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดเพิ่ม
-ต้องไม่เป็นอสังหาฯที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้เช่าจะนำไปใช้ประกอบธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรม

ใกล้เคียง

กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทรัพยากรแร่ กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย กองทัพสหรัฐ กองทัพ พีค กองทัพไทย กองทัพปลดปล่อยประชาชน กองทัพภาคที่ 1